ว่ากันด้วยพลังงานล้วนๆ (๑) : ประเภทของพลังงาน

จากที่ได้ปฏิญาณตนไว้ครับ ได้ฤกษ์ซะที :mad:

.

ใครบ้างไม่รู้จักพลังงาน?

พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิต ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ต่างก็ต้องใช้พลังงานด้วยกันทั้งนั้น เราใช้พลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้า, การคมนาคม, การขนส่ง, การผลิต, การบริการ โอ้ย อีกมากมายก่ายกอง

แล้วทำไมเราต้องใช้พลังงาน?

พลังงานเป็นคำไทยที่ผสมกันขึ้นมาจากคำ ๒ คำ คือ “พลัง” และ “งาน”
หมายถึง พลังต่างๆที่นำมาใช้ให้เกิดงาน

ถ้าเรามีพลัง แต่ไม่ใช้ ก็จะไม่มีงานเกิดขึ้น หรือมีน้ำมัน แต่ไม่เอาไปเติมรถ แล้วรถมันจะวิ่งได้ยังไงฟร่ะ~ เหมือนเรากินข้าวซะเยอะ แต่กลับนอนอ้วนไปวันๆ มันก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น กินเสียข้าวสุกเปล่าๆ

แต่ถ้าเราไม่มีพลัง เหมือนอดข้าว เราก็จะไม่มีแรงที่จะทำงานทำการอะไร เหมือนไม่มีน้ำมัน เราก็คงจะไปไหนมาไหนด้วยการเดินเมื่อยขาสามวันสี่วัน

.

ถ้าอย่างนั้นเราก็ใช้พลังงานให้เต็มที่สิ

ครับ โลกของเราใช้พลังงานในการดำรงชีวิตและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา มนุษย์จึงมีชีวิตอยู่ได้ และก็มีเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่ช่วยให้การดำรงชีวิตดีขึ้น ง่ายขึ้น สำเร็จรูปขึ้น

แต่จำนวนประชากรโลกที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นๆๆๆ (เค้าก็เลยเอาตู้หยอดถุงฯ ไปติดตั้งตามโรงเรียนประถมฯ เพื่อแก้ปัญหานี้ :yawn: ) และชาวโลกทั้งหลายต่างก็ใช้พลังงานด้วยกันทั้งนั้น จนมันจะหมดอยู่แล้ว

เฮ้ย! พลังงานมีหมดด้วยเหรอ?

เราแบ่งพลังงานออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆครับ คือ

๑. พลังงานใช้แล้วหมด

หรือที่นักวิชาการเรียกกันว่า พลังงานสิ้นเปลือง หรือ พลังงานฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน รวมทั้งหินน้ำมัน ทรายน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ที่เรียกว่าใช้แล้วหมดก็เพราะหามาทดแทนไม่ทันการใช้ พลังงานพวกนี้ปกติแล้วจะอยู่ใต้ดิน ถ้าไม่ขุดขึ้นมาใช้ตอนนี้ ก็เก็บไว้ให้ลูกหลานใช้ได้ในอนาคต บางทีจึงเรียกว่า พลังงานสำรอง

๒. พลังงานใช้ไม่หมด

หรือ พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ไม้ กระดาษ ฟืน แกลบ กาก(ชาน)อ้อย ชีวมวล(เช่น มูลสัตว์ และก๊าซชีวภาพ) น้ำ(จากเขื่อนไหลมาหมุนกังหันปั่นไฟ) แสงอาทิตย์(ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้) ลม(หมุนกังหันลมผลิตไฟฟ้า) และคลื่น(กระแทกให้กังหันหมุนปั่นไฟ) และที่ว่าใช้ไม่หมดก็เพราะสามารถหามาทดแทนได้ เช่น ปลูกป่าเอาไม้มาทำฟืน หรือ ปล่อยน้ำจากเขื่อนมาปั่นไฟ แล้วไหลลงทะเล กลายเป็นไอ และเป็นฝนตกลงมาสู่โลกอีก หรือแสงอาทิตย์ที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ก็ไม่มีวันหมดสิ้น เป็นต้น

พลังงานที่บอกว่าจะหมดก็คือ พลังงานเคมี (อยู่ในสปีชีส์ พลังงานใช้แล้วหมด) พวกน้ำมันดิบ, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เพราะเป็นพลังงานที่บริโภคได้ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด และอร่อยที่สุด (เพราะว่าต้นทุนมันต่ำ…ตรงไหน? :confused: ) จึงมีการ(ถลุง)ใช้กันมากที่สุด คิดดูสิว่า กว่าที่โลกเราจะผลิตน้ำมันที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์มาได้แต่ละลิตร ใช้เวลาตั้งเป็นล้านปี แต่เรากลับใช้เติมรถวิ่งแป๊บเดียวไม่ถึง ๑๐ นาที ก็หมดแล้ว (เขียนแล้วมันน่าเขกกะโหลกพวกเด็กแว้นเนอะ :devil: )

ดังนั้นเราก็เลยเสาะหาพลังงานงานทางเลือกใหม่มาใช้ทดแทนพลังงานดังกล่าว เพื่อยืดอายุแหล่งพลังงานเหล่านั้นให้ยาวนานขึ้น ซึ่งก็คือ พลังงานทดแทน นั่นเอง

ขอพลังจงอยู่กับท่าน

.
แหล่งอ้างอิง :nerd:

    เอกสารเผยแพร่

  • พลังงาน : เพื่อความเข้าใจ ใช้อย่างรู้คุณค่า พัฒนาสู่ความยั่งยืน, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • รู้ ‘รักษ์พลังงาน : รู้เท่าทันสถานการณ์พลังงาน, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

ขอบคุณ : ฟอนต์ iannnnnJPG


Comments

10 responses to “ว่ากันด้วยพลังงานล้วนๆ (๑) : ประเภทของพลังงาน”

  1. ดีครับ มาเขียนเรื่องนี้ บ้าง จะได้รู้จักรักษ์พลังงานกันมากขึ้น เนอะ :heart:

  2. ครับ ก็หวังไว้เหมือนกัน แต่เขียนยากเอาเรื่องเลย ยังไงก็จะพยายามครับ :weird:

  3. โห เขียนมาแนวนี้เลยแหะ ดีๆครับ เอาไปให้เด็กๆอ่านคงชอบ แต่ก่อนค้นหาเรื่องพวกนี้ไปทำรายงานอยู่เหมือนกัน สมัยเรียนอยู่มัธยม เอิ๊กๆ

    หวัดดีครับคุณหนุ่ม แวะมาเยี่ยมยามสักหน่อย เห็นแวะไปคอมเม็นต์บ่อยๆที่บล็อก

  4. […] ว่ากันด้วยพลังงานล้วนๆ (๑) Dec […]

  5. หวัดดีเช่นกันครับ บล็อกดีๆก็ต้องไปเยี่ยมบ่อยๆครับ :fairy:

  6. ชอบภาพประกอบ :kiss:

  7. ขอบคุณครับ :oops:

  8. […] และเนื่องจากพลังงานเคมีเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ยิ่งใช้ก็ยิ่งหมด ยิ่งขาดแคลน ประกอบกับมีความต้องการใช้มากขึ้นทุกขณะ ทำให้ปริมาณพลังงานสำรองที่มีอยู่ลดลงเรื่อยๆๆๆ […]

  9. ดี...ดีค่ะ Avatar
    ดี…ดีค่ะ

    ชอบอ่ะ นาย…น่าอ่านมั่กกกกกกกกกกก…….มาก
    ดูแล้วม่าไร้สาระอ่ะ ทำบล็อกดีๆออกมาเรื่อยๆนะคัฟ…*-*

  10. Dorapang Avatar
    Dorapang

    สุดยอดอะพี่ หนูสอบ อ่านแต่ในใบงานมันเบื่ออะ น่ารักได้อีกไหม?
    โอ๊ยน่ารักอะ ขอบคุณนะพี่ อย่างน้อยก็ตอบเรื่องพลังงานได้ ><'

Leave a Reply